วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเภทของยา


 

ยาประเภทต่างๆ

 
การแบ่งยาออกเป็นประเภทนั้น มีวิธีแบ่งหลาย อย่าง เช่น

ก. แบ่งตามยุคหรือสมัย

ได้แก่ ยาแผนโบราณ หรือยาไทย หรือยาสมุนไพร และยาแผนปัจจุบัน หรือยาฝรั่ง หรือยาเทศ

 ยาแผนโบราณ

คือ ยาที่ได้ใช้กันมาในอดีตเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันก็ยังคงมีที่ใช้อยู่บ้าง ต้นตอของยาแผนโบราณได้ จากพืช (พืชวัตถุ) สัตว์ (สัตววัตถุ) และแร่ธาตุ (ธาตุวัตถุ) ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ ได้มีการใช้แบบบอกเล่าต่อๆ กันมา ไม่มีการค้นคว้าวิจัยเหมือนอย่างยาแผนปัจจุบัน



 จากตำราวิชาเภสัชกรรมไทยแผนโบราณ ใน หัวข้อเภสัชวัตถุกล่าวไว้ว่า

 

เภสัชวัตถุประเภทพืช (พืชวัตถุ)

ได้จาก ต้น แก่น ใบ หัว เหง้า ราก กระพี้ เนื้อไม้ ยางไม้ เปลือกต้น เปลือกลูก เปลือกเมล็ด ดอกเกสร กิ่ง ก้าน ฯลฯ

เภสัชวัตถุประเภทสัตว์ (สัตววัตถุ)

ได้จากสัตว์ทุกชนิด และอวัยวะของสัตว์ทั้งหลาย เช่น ขน หนัง เขา นอ เขี้ยว งา ฟัน กราม ดี หัว เล็บ กีบ กระดูก เนื้อ เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ

 

เภสัชวัตถุประเภทธาตุ (ธาตุวัตถุ)

ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุ

 
ยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่

ยานัตถุ์ ซึ่งไม่มียาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษผสมอยู่

ยาหอม ซึ่งไม่มียาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษผสมอยู่

ยาไทยโบราณ ซึ่งใช้ชื่อ ปริมาณของวัตถุส่วนประกอบ วิธีการผสม และคำอธิบายสรรพคุณตรงตามตำรายา ซึ่งรัฐมนตรีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษารวม 16 ขนานคือ ยามหานิลแท่งทอง ยาเทพมงคล ยาเขียวหอม ยาประสะกะเพรา ยาเหลืองปิดสมุทร์ ยาอัมฤควาที ยาประสะมะแว้ง ยาตรีหอม ยาจันทน์ลีลา ยา ประสะจันทร์แดง ยาหอมอินทจักร์ ยาหอมนวโกฏ ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาประสะ ไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู

 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน

 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้ได้มี ๔๙ ขนาน คือ

ควินินซัลเฟตเม็ด คลอโรควินเม็ด โซดามินท์เม็ด ยาลดกรดเม็ด ซัลฟากัวนิดินเม็ด โดเวอร์สเม็ด

แอสไพรินเม็ด วิตามินบี ๑ เม็ด วิตามินบีรวมเม็ด วิตามินซีเม็ด ยาธาตุน้ำแดง เหล้าสะระแหน่ ทิงเจอร์ ฝิ่น การบูร ยาถ่ายพยาธิ (บิเปอราซีน) น้ำมันละหุ่ง น้ำมันละหุ่งหอมหวาน ดีเกลือ ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ น้ำมัน ยูคาลิปตัส ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ยาแก้ไอน้ำดำ ยากวาดคอ เหล้า

           แอมโมเนียหอม ยาหยอดตา (ซัลฟา) ยาหยอดหู (ไนโตรฟูราโซน) ยาแก้ปวดฟัน ยารักษาหิดเหา ขี้ผึ้ง กำมะถัน ขี้ผึ้งซัลฟา ขี้ผึ้งน้ำมันระกำยา รักษากลาก เกลื้อน ยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ยาใส่แผลสด ทิงเจอร์ไอโอดีน ยาเหลือง ยาแดง ด่างทับทิม ยาสูดดม (สำหรับกันหรือแก้วิงเวียน หรือสำหรับสูดดม เพื่อแก้หวัดคัดจมูก ทั้งนี้ต้องไม่มียาเสพติดให้โทษ ยา อันตราย หรือยาควบคุมพิเศษผสมอยู่) ยาอมแก้เจ็บ คอ (ซึ่งไม่มียาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษผสมอยู่) และยาที่ใช้ภายนอก จำพวกถู นวดกล้ามเนื้อ ยกเว้นน้ำมันระกำ

 

ยาชง

ยาเม็ดอัด และยาแคปซูล

 
ข. แบ่งตามตำแหน่งที่ยาออกฤทธิ์ต่อระบบของร่างกาย       

 

ได้แก่ ยาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทกลาง (ยากด ยากระตุ้นสมอง และไขสันหลัง) ยาออกฤทธิ์ต่อ ระบบทางเดินอาหาร (ปาก กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ถุงน้ำดี ตับ) ยาออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินลมหายใจ (จมูก หลอดลม ปอด) ยาออกฤทธิ์ต่อระบบ เลือดไหลเวียน (หัวใจ หลอดเลือดแดงของหัวใจ หลอดเลือดแดงอื่นๆ หลอดเลือดดำ) ยาออกฤทธิ์ต่อระบบการเคลื่อนไหว (กล้ามเนื้อ ข้อต่อกระดูก เส้นเอ็น) ยาออกฤทธิ์ต่อระบบการสร้างเลือด (ไขกระดูก เม็ดเลือด แดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด) ยาออกฤทธิ์ต่ออวัยวะ รับสัมผัส (ตา หู จมูก ผิวหนัง) ยาออกฤทธิ์ต่อระบบ ทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ (ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ อวัยวะเพศชายหญิง) และยาที่ออกฤทธิ์ต่อการครองธาตุ และฮอร์โมน (สารสำคัญในเลือด เช่น น้ำตาล โปรตีน กรดยูริก ฯลฯ เกลือแร่ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม ฯลฯ ฮอร์โมน เช่น อินซูลิน ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ พาราไทรอยด์ ฮอร์โมนเพศ ชาย-หญิง ฯลฯ)

 

ค. แบ่งตามฤทธิ์หรือผลของยา

เช่น ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าบัคเตรี ไวรัส เชื้อรา) ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาระงับเชื้อ ยาบีบมดลูก ยาขยายหลอดเลือด (ยาลดความดันโลหิตสูง ยาขยายหลอดเลือดแดงของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือดปลายทาง) ยาทำให้หลอดเลือดดำแข็งตัว ยาเร่งการแข็งตัวของเลือด ยารั้งการแข็งตัวของเลือด ยารักษาโรคเบา หวาน ยารักษาโรคภูมิแพ้ ยาขับปัสสาวะ ฯลฯ

 

ง. แบ่งตามวิธีใช้

         ยาแผนโบราณ แบ่งการใช้ยาเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

 
             ใช้ภายใน คือ ใช้รับประทานเข้าไป หรือมีการกระทำเข้าไปภายในร่างกาย ได้แก่ ใช้รับประทาน ทางปาก ใช้นัดเข้าทางจมูก ใช้สวนทางทวาร และใช้เข้าทางทวารทั้งเก้า

ใช้ภายนอก คือ ใช้ภายนอกร่างกาย มิได้ ใช้เข้าไปภายในร่างกาย ได้แก่ ใช้ทาแผล ชะแผล พอกแผล ประคบ ถูนวดชโลม ใช้อาบ และใช้รม

 
จ. แบ่งตามรูปลักษณะของยา

 

ยาที่มีลักษณะเป็นของเหลว ได้แก่

 

ยาน้ำ ได้แก่ ยาที่ใช้กิน เช่น ยาน้ำผสม (ยา หลายอย่างละลายน้ำ) ยาที่มีแอลกอฮอล์ปน (มีน้ำมัน หอมระเหยด้วย)

            ยาที่ใช้ฉีด (ยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เข้ากล้ามเนื้อ เข้าหลอดเลือดดำ เข้าข้อต่างๆ)

ยาที่ใช้ภายนอก (ยาทา ยาดม ยาหยอด ยาล้างแผลหรือโพรงต่างๆ ของร่างกาย)

            ยาน้ำสกัด ได้แก่ ยาที่ได้จากการใช้แอลกอฮอล์ สกัดจากพืช ยาพวกนี้มักมีแอลกอฮอล์อยู่ด้วย

ยาชง ได้แก่ ยาที่ได้จากการเอาใบยาแช่ในน้ำเดือดเช่นเดียวกับการชงชา

 

ยาที่มีลักษณะเป็นของแข็ง ได้แก่

 

ยาผง อาจเป็นผงตามธรรมดา เช่น ยาผงใช้ โรยแผล ยากินแก้โรคกระเพาะ หรือเติมสารบางอย่าง ให้มีรสดีขึ้นก็ได้ เช่น ยาฟองฟู่ คือ ยาที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนตกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดซิตริก ยานี้ต้องผสมน้ำก่อนกิน และต้องรอให้หมดฟองคาร์บอนไดออกไซด์ ก่อนจึงกินได้

            ยาแคปซูล (ยาหลอด) อาจเป็นยาแคปซูลธรรมดา ซึ่งทำด้วยเจละตินแข็ง ภายในบรรจุยาผง เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือยาแคปซูลที่เคลือบด้วยเซลลูโลส แอซิดทาร์เทรต เพื่อให้แคปซูลไปแตกที่ลำไส้ ยาแคปซูลบางอย่างบรรจุยาผงชนิดเม็ดเล็กๆ เพื่อให้ฤทธิ์ยาอยู่นานขึ้น เรียกแคปซูลชนิดนี้ว่า สแปนซูล (ยาแคปซูล บางชนิดทำด้วยเจละตินอ่อน มีลักษณะยืดหยุ่น ภายใน บรรจุน้ำมันไว้ เช่น น้ำมันตับปลา)

ยาเม็ดอัด (แทเบลต) อาจเป็นยาเม็ดธรรมดา ประกอบด้วยตัวยาอย่างเดียว เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาเม็ดเป็นชั้นๆ ประกอบด้วยตัวยาหลายอย่าง เช่น ยา ช่วยย่อยอาหาร ยาเม็ดทำเป็นชั้นๆ มีตัวยาที่ออกฤทธิ์ เร็วช้าต่างกัน เพื่อใช้ยาออกฤทธิ์อยู่นาน ยาเม็ดมีรูอยู่ ตรงกลางคล้ายชูชีพ (ยาอม) ยาเม็ดอัดอาจมีรูปต่างๆ กัน เช่น รูปกลม รูปกระสวย รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม ฯลฯ

ยาเม็ดเคลือบ คือ ยาเม็ดอัดที่นำมาเคลือบด้วยสี หรือสารบางอย่าง เพื่อให้มีสีสวย กินง่าย เพราะมีรสดี ไม่ขม หรือเพื่อให้ยาไปแตกที่ลำไส้

ยาเม็ดกลม (ยาลูกกลอน) ได้แก่ การเอายาผง มาผสมกับสารอื่นที่ช่วยยึด (น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม) แล้วนวด ให้เข้ากัน ปั้นเป็นเม็ดกลม (ยาไทยโบราณมักมีรูปยานี้ มากเหมือนกัน นอกจากยาผง และยาเม็ดอัด) บาง คราวมีการเคลือบยาเม็ดกลมเพื่อเหตุผลเช่นเดียวกับยาเม็ดเคลือบ



                             
                                                
 
 
วันที่สืบค้น 01/05/2556

 
 

สารเคมี



สารเคมีในชีวิตประจำวัน

 

บทนำ

            ทุกครัวเรือนจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องครัว ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนบุคคล หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง เป็นต้น คุณเคยหยุดคิดสักนิดบ้างไหมว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ภายในบ้านเหล่านี้ประกอบด้วยสารเคมีบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อสมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก โดยถ้านำไปใช้ เก็บ หรือทำลายทิ้ง อย่างไม่ถูกวิธี อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม หรืออาจติดไฟทำลายทรัพย์สินของคุณได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเรารู้จักใช้ เก็บ และทิ้งผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างถูกวิธี เราก็จะสามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้และใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย

ทำไมสารเคมีที่ใช้ภายในบ้านจึงเป็นอันตราย

 ผลิตภัณฑ์สารเคมีที่ใช้ภายในบ้านมีอันตราย โดยอย่างน้อยมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ เป็นพิษ กัดกร่อน ติดไฟได้ หรือทำปฏิกิริยาที่รุนแรงได้ ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ นํ้ายาทำความสะอาดทั่วไป ยาฆ่าแมลง สเปรย์ชนิดต่างๆ นํ้ายาขจัดคราบไขมัน นํ้ามันเชื้อเพลิง สีและผลิตภัณฑ์ที่ถูกทาสีมาแล้ว แบตเตอรี และหมึก ผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆเหล่านี้ส่วนมากถ้าได้รับหรือสัมผัสในปริมาณที่น้อยคงไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนัก แต่ถ้าได้รับหรือสัมผัสในปริมาณที่มาก หรือในกรณีอุบัติเหตุ เช่น สารเคมีหกรดร่างกาย หรือรั่วออกจากภาชนะบรรจุ ก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

 
สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อให้บ้านของคุณปลอดภัย

 

            1. จัดเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆไว้ในที่ที่แห้งและเย็น ห่างจากความร้อน จัดวางบนพื้นหรือชั้นที่มั่นคง และเก็บให้เป็นระบบ ควรแยกเก็บผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ติดไฟได้ ทำปฏิกิริยาที่รุนแรงได้ หรือเป็นพิษ ไว้บนชั้นต่างหาก และทำความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ควรจดจำให้ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน และแต่ละผลิตภัณฑ์มีวัตถุประสงค์ในการใช้อย่างไร เมื่อใช้เสร็จแล้วควรนำมาเก็บไว้ที่เดิมทันที และตรวจให้แน่ใจว่าภาชนะทุกชิ้นมีฝาปิดที่แน่นหนา ผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจเป็นอันตรายได้มากกว่าที่คุณคิด ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้แก่

                         - ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ้าน เช่น นํ้ายาเช็ดกระจก แอมโมเนีย นํ้ายาฆ่าเชื้อ นํ้ายาทำความสะอาดพรม นํ้ายาขัดเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งสเปรย์ปรับอากาศ เป็นต้น

                         - ผลิตภัณฑ์ซักผ้า เช่น ผงซักฟอก นํ้ายาปรับผ้านุ่ม นํ้ายาฟอกสีผ้า เป็นต้น

                         - ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม เช่น สเปรย์ใส่ผม นํ้ายาทาเล็บ นํ้ายาล้างเล็บ นํ้ายากำจัดขน นํ้ายาย้อมผม เครื่องสำอางอื่นๆ เป็นต้น

                         - ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสวน เช่น ปุ๋ย ยากำจัดวัชพืช ยาฆ่าแมลง เป็นต้น

                        - ผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงรักษาบ้าน เช่น สีทาบ้าน กาว นํ้ายากันซึม นํ้ามันล้างสี เป็นต้น

                          - ผลิตภัณฑ์สำหรับรถยนต์ เช่น นํ้ามันเชื้อเพลิง นํ้ามันเบรค นํ้ามันเครื่อง นํ้ายาล้างรถ นํ้ายาขัดเงา เป็นต้น

   

 2. ผลิตภัณฑ์สารเคมีทุกชนิดต้องมีฉลากและต้องอ่านฉลากก่อนใช้งานทุกครั้ง ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายควรต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง อ่านฉลากและทำตามวิธีใช้อย่างถูกต้องรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าฉลากมีคำว่า อันตราย (DANGER)”, “สารพิษ (POISON)”, “คำเตือน (WARNING)”, หรือ ข้อควรระวัง (CAUTION)” โดยมีรายละเอียดอธิบายได้ดังนี้

- อันตราย (DANGER) แสดงให้เห็นว่าควรใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ สารเคมีที่ไม่ได้ถูกทำให้เจือจาง เมื่อสัมผัสถูกกับตาหรือผิวหนังโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นถูกกัดทำลาย หรือสารบางอย่างอาจติดไฟได้ถ้าสัมผัสกับเปลวไฟ

- สารพิษ (POISON) คือ สารที่ทำให้เป็นอันตราย หรือ ทำให้เสียชีวิต ถ้าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รับประทาน หรือ สูดดม คำนี้เป็นเป็นข้อเตือนถึงอันตรายที่รุนแรงที่สุด

            - เป็นพิษ (TOXIC) หมายถึง เป็นอันตราย ทำให้อวัยวะต่างๆทำหน้าที่ผิดปกติไป หรือ ทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง รับประทาน หรือ สูดดม

            - สารก่อความระคายเคือง (IRRITANT) หมายถึง สารที่ทำให้เกิดความระคายเคือง หรืออาการบวมต่อผิวหนัง ตา เยื่อบุ และระบบทางเดินหายใจ

            - ติดไฟได้ (FLAMMABLE หรือ COMBUSTIBLE) หมายถึง สามารถติดไฟได้ง่าย และมีแนวโน้มที่จะเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็ว

             - สารกัดกร่อน (CORROSIVE) หมายถึง สารเคมี หรือไอระเหยของสารเคมีนั้นสามารถทำให้วัสดุถูกกัดกร่อน ผุ หรือสิ่งมีชีวิตถูกทำลายได้

   

 
3. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เท่าที่ต้องการใช้เท่านั้นอย่าซื้อสิ่งที่ไม่ต้องการใช้ เพราะเสมือนกับเป็นการเก็บสารพิษไว้ใกล้ตัวโดยไม่จำเป็น พยายามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้หมดก่อนซื้อมาเพิ่ม ถ้ามีของที่ไม่จำเป็นต้องใช้แล้วเหลืออยู่ ควรบริจาคให้กับผู้ที่ต้องการใช้ต่อไป หรือไม่ก็ควรเก็บและทำฉลากให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฉลากใกล้หลุดหรือฉีกขาด และควรทิ้งผลิตภัณฑ์ที่เก่ามากๆ ซึ่งไม่ควรนำมาใช้อีกต่อไป

   

 4. เก็บให้ไกลจากเด็ก สารทำความสะอาด หรือ สารเคมีที่ใช้ภายในบ้านอาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ควรเก็บในตู้ที่เด็กเอื้อมไม่ถึง อาจล็อคตู้ด้วยถ้าจำเป็น สอนเด็กๆในบ้านให้ทราบถึงอันตรายจากสารเคมี นอกจากนี้ ควรจดเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินไว้ใกล้กับโทรศัพท์ เบอร์โทรศัพท์เหล่านี้ ได้แก่ เบอร์รถพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน สถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ หน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสารพิษ และแพทย์ประจำตัว

    

5. ไม่ควรเก็บสารเคมีปะปนกับอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากสารเคมีอาจหกหรือมีไอระเหยทำให้ปนเปื้อนกับอาหารได้ และเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีเสร็จแล้วควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

    

6. ไม่ควรเก็บของเหลวหรือก๊าซที่ติดไฟได้ไว้ในบ้าน นํ้ามันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์หรือถังบรรจุก๊าซถ้าสามารถทำได้ไม่ควรนำมาเก็บไว้ภายในบ้าน ถังบรรจุก๊าซควรเก็บไว้นอกบ้านในบริเวณใต้ร่มเงาที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องไม่เก็บของเหลวหรือก๊าซที่ติดไฟได้ไว้ใกล้กับแหล่งของความร้อนหรือเปลวไฟ และเก็บไว้ในภาชนะบรรจุดั้งเดิมหรือภาชนะที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น

    

7. เก็บสารเคมีไว้ในภาชนะบรรจุดั้งเดิมเท่านั้น ไม่ควรเปลี่ยนถ่ายสารเคมีที่ใช้ภายในบ้านลงในภาชนะชนิดอื่นๆ ยกเว้นภาชนะที่ติดฉลากไว้อย่างเหมาะสมและเข้ากันได้กับสารเคมีนั้นๆโดยไม่ทำให้เกิดการรั่วซึม นอกจากนี้ ไม่ควรเปลี่ยนถ่ายสารเคมีลงในภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุอาหาร เช่น ขวดนํ้าอัดลม กระป๋องนม ขวดนม เป็นต้น เพื่อป้องกันผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์นำไปรับประทาน

    

8. ผลิตภัณฑ์หลายชนิดสามารถนำไปแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่เป็นพิษในสิ่งแวดล้อม

   

 9. ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีอันตรายน้อยกว่าทดแทนสำหรับงานบ้านทั่วๆไป ตัวอย่างเช่น สามารถใช้ผงฟู และนํ้าส้มสายชูเทลงในท่อระบายนํ้า เพื่อป้องกันการอุดตันได้

    

10. ทิ้งผลิตภัณฑ์และภาชนะบรรจุให้ถูกต้องเหมาะสม ไม่เทผลิตภัณฑ์ลงในดินหรือในท่อระบายนํ้าทิ้ง ผลิตภัณฑ์หลายชนิดไม่ควรทิ้งลงในถังขยะหรือเทลงในโถส้วม ควรอ่านฉลากเพื่อทราบวิธีการทิ้งที่เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้ผลิต

 

ทำอย่างไรให้ปลอดภัยขณะใช้สารเคมี

 

     1. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษแทน

     2. อ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีการใช้ทุกครั้ง

     3. สวมถุงมือและเสื้อคลุมทุกครั้ง ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถทำให้เกิดอันตรายได้โดยการสัมผัสต่อผิวหนัง

     4. สวมแว่นตาป้องกันสารเคมี ถ้าผลิตภัณฑ์สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อตา

     5. ห้ามสวมคอนแทคเลนส์เมื่อใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ทินเนอร์ เป็นต้น

     6. หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ทันทีถ้ารู้สึกวิงเวียน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดศีรษะ

     7. ควรใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ในที่โล่งแจ้ง

     8. ห้ามสูบบุหรี่เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดไฟได้

     9. ห้ามผสมผลิตภัณฑ์สารเคมีเอง เนื่องจากสารเคมีบางชนิดอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน เกิดเป็นไอควันพิษหรืออาจระเบิดได้

     10. พบแพทย์ทันทีถ้าสงสัยว่าได้รับสารพิษหรือได้รับอันตรายเมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน



 แหล่งที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0  สืบค้นวันที่ 31/01/2556

ดอกไม้สวยๆ


      




                                                
 

              ทานตะวัน

สวัสดีครับวันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องของดอกทานตะวันนะครับดอกทานตะวันนั่นเป็นดอกไม้ที่สวยงามมากอีกหนึ่งชนิดนะครับทานตะวัน เป็นพืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อทานตะวันถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในจีนัส Helianthus ด้วยเช่นกันทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล

ตำนานดอกทานตะวัน

ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้

การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย

ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก

ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด

เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่าคนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง

การใช้ประโยชน์

ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหารทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg


 
                                                  
 
                  ดอกกระดังงา-ถิ่นกำเนิด

            กระดังงามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเซียเขตร้อนในแถบของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนีเซีย    ลักษณะต้นเป็นไม้เลื้อยทรงพุ่มขนาดกลาง เป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดปี ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตอนเช้าและเย็น โดยเริ่มออกดอกเมื่อ ปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 – 8 เมตร จึงจะออกดอก[1]


                ประโยชน์
เปลือกใช้ทำเชือกดอก นำไปกลั่นน้ำหอม ใช้นำไปเป็นส่วนปนะกอบของยาหอม มีฤทธิ์แก้วิงเวียน โดยจัดอยู่ในส่วนประกอบของ เกสรทั้งเจ็ดตำรายาไทย ใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ผลแก่ใช้ผลสีเหลืองอมเขียวเกือบดำ นำมาบดใช้เป็นยาคนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม หรือ นำดอกนำมาลนไฟใช้อบขนมให้มีกลิ่นหอมกระดังงาที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของเปลือกใช้ทำเชือก


              การขยายพันธุ์
กระดังงาเป็นไม้เลื้อยที่เปลือกจะหนาขึ้นตามอายุ โดยสามารถตอนกิ่งได้แบบเดียวกับไม้ยืนต้น แต่มีโอกาศที่จะติดเชื้อโรค รา ทำให้กิ่งที่ชำได้มีความเปราะ กิ่งหักง่าย ส่วนใหญ่จึงนิยมจะขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด [


               ความเชื่อของไทย
โดยมีความเชื่อว่า กระดัง คือการทำให้เกิดเสียงดังไปไกล โดยนำความเชื่อมาจาก บันทึกโบราณจาก นกการะเวกในสมัยพุทธกาล มีเสียงดังไพเราะก้องไกลทั่วสวรรค์

 

พุดน้ำบุษย์



 

             พุดน้ำบุษย์ ( Gardenia carinata Wallich.) เป็นดอกพุดที่นิยมปลูกพุดน้ำบุษย์เป็นไม้กระถางเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงามที่มีดอกหอม ดอกบานนาน 7 วันเมื่อแรกแย้มบานมัก เป็นสีออกขาวนวลส่งกลิ่นหอมมาก หอมไกล 2 – 3 เมตร เมื่อบานเข้าวันที่สองสีจะเริ่มออกเหลืองอ่อน ต่อมา ค่อยๆ เหลืองเข้มจนกระทั่งเข้มจัด ออกดอกตลอดทั้งปี กลิ่นหอมตลอดวัน

ลักษณะทั่วไป พุดน้ำบุษย์ เป็นไม้พุ่มต้นเล็กหรือพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามข้อของลำต้น ลักษณะใบสวยงามเพราะใบมัน หน้าใบสีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีเทา เป็นลายเห็นเด่นชัดสวยงาม เรียงใบเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 5 เชนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร ลำต้นแก่สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวดอกเดี่ยวบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเหลือง ความยาวของกลีบของกลีบดอก 2 เซนติเมตร มี 7 กลีบ คลายรูปช้อน ชูดอกอยู่บนก้าน ดอกบานนาน 7 วันเมื่อแรกแย้มบานมักเป็นสีออกขาวนวลส่งกลิ่นหอมมาก หอมไกล 2 – 3 เมตร เมื่อบานเข้าวันที่สองสีจะเริ่มออกเหลืองอ่อน ต่อมาค่อยๆ เหลืองเข้มจนกระทั้งเข้มจัด

           ลักษณะเฉพาะ

·         ลักษณะ: เป็นไม้พุ่มต้นเล็กหรือพุ่มเตี้ยสูงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามข้อของลำต้น ลำต้นแก่สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว

·         ใบ: ลักษณะใบสวย งามเพราะใบมัน หน้าใบสีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีเทา เป็นลายเห็นเด่นชัดสวยงาม เรียงใบ เป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 5 เชนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร

·         ดอก: ดอกเดี่ยวบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเหลือง ความยาวของกลีบ ของกลีบดอก 2 เซนติเมตร มี 7-8 กลีบ คลายรูปช้อน ชูดอกอยู่บนก้าน

·         การดูแล: เติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำได้ดี แสงแดดจัด ชอบความชื้นแต่ถ้าไม่สามารถหาแดดเต็มวัน ให้ได้ แดดครึ่งวัน แดดช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ พุดน้ำบุษย์ปลูกได้ 2รูปแบบ คือ ปลูกลงดินกลางแจ้งยกแปลงสูง หรือปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งไว้ ในที่มีแสงแดดส่องถึง หลังปลูกบำรุงดินด้วยปุ๋ยมูลสัตว์ประเภทขี้วัวขี้ควายแห้งโรยกลบฝังดินรอบโคน ต้นหรือรอบขอบกระถางปลูก 15 วันครั้ง รดน้ำให้พอชุ่มทั้งเช้าและเย็น

 
                                                           ยี่หุบ

 

 

               ยี่หุบ
ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมนั้นทำให้เราสดชื่นขึ้น ยี่หุบเป็นพันธุ์ไม้ของไทยแท้ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ แม็กโนเลีย ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางในโลกมากนัก น่ะนะคะ พืชในวงศ์นี้อาจมีไม่เกิน 100 พันธุ์ ซึ่งรวมถึง จำปี จำปา มณฑา และมณฑาดอยด้วย

             ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ยี่หุบเป็นพุ่มไม้เตี้ย สูงประมาณ 2-5 ฟุต แตกกิ่งและใบน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวสดเนื้อใบแข็งกระด้าง ใบรูปรีปลายแหลมและโคนโบแหลม ยาวประมาณ 5 นิ้ว ดอกยี่หุบนั้นจะออกเป็นช่อห้อยลงตามปลายกิ่ง ช่อละ 5-8 ดอก(อาจจะมีออกดอกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งได้ด้วย) ดอกสีเหลืองอ่อนนวล ก้านดอกยาว 1-2 ซม. กลีบดอกงองุ้มและแข็งหนาทับซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกหนาและอวบน้ำ กาบรองดอกเป็นสีเขียวนวลเวลาบานเต็มที่คล้ายกลีบดอกขั้นนอก ดอกยาวประมาณ 3 ซม. มีกลิ่นหอมจัดเวลาเย็น เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. ดอกทยอยออกตลอดปี

             การปลูกและดูแลรักษา
ยี่หุบไม่ชอบแสงแดดมาก ชอบดินร่วนซุยและชื้น สามารถทนอยู่ได้ในสภาพดินแฉะ การปลูกในพื้นที่สูง เช่น ภูเขาหรือบนดอย พบว่ามีดอกดกใหญ่และมีกลีบดอกหนากว่า
การปลูกยี่หุบในกระถาง ก็สามารถออกดอกได้ดีค่ะ แต่ไม่ควรตั้งกระถาง หรือปลูกลงดินไว้กลางแจ้งตรงบริเวณที่โดนแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวันนะคะ ไม่งั้นใบสวยๆ ของยี่หุบจะไหม้ ใบเหลือง โตช้า และไม่ค่อยออกดอก เพราะยี่หุบ จะชอบอากาศเย็นๆ และต้องการความชื้นค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงควรปลูกในพื้นที่ร่มเย็น ใต้ร่มไม้ใหญ่ หรือในที่ร่มรำไร จะออกดอกได้ดีกว่าค่ะ



                                             

                     เบญจมาศ

เบญจมาศ เป็นไม้ตัดดอก (ไม้พันธุ์ล้มลุก) อีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้กัน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกุหลาบ เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก อีกชื่อหนึ่งที่เป็นที่รู้จักคือ เก๊กฮวย (Chrysanthemum) นิยมใช้ในความหมายของดอกไม้ที่นำไปทำเป็นเครื่องดื่ม

เบญจมาศ เป็นไม้ขนาดเล็กสูงประมาณ 1 – 3 ฟุต ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด ใบเรียวรี ขอบใบหยักใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อนๆทั่วทั้งใบ ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนๆกันมีหลากหลายสี สีแดง สีบานเย็น สีขาว สีม่วง น้ำเงิน สีเหลือง เบญจมาศเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด ต้องการน้ำปานกลาง และความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อนำมาปลูกภายในอาคารจึงควรตั้งไว้ในที่ๆ แสงแดดส่องถึง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
นอกจากดอกที่มีสีสันสดใส ทำให้บรรยากาศภายในสดชื่นสว่างไสว ชึ่งเป็นลักษณะเด่นของเบญจมาศแล้วเบญจมาศยังเป็นไม้ประดับที่มีความน่าสนใจมาก อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย จึงไม่ควรมองข้ามที่จะหาเบญจมาศมาปลูกในสำนักงานหรือบ้านเรือน

เบญจมาศ เป็นไม้ตัดดอกอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้กัน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกุหลาบ เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ดอกเบญจมาศมีอยู่หลายสายพันธุ์ ชนิดเลื่องชื่อคือ เบญจมาศสวน กับเบญจมาศหนู ซึ่งเรียกรวมกันว่า ดอกเก๊กฮวยนิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลทำน้ำเก๊กฮวย

 
                                                           ดอกเหมย

                    
 
                                            
 
                   ดอกเหมย

ดอกเหมยมีชื่อลาตินว่า Prunus mume หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Mumeplant Japanese Apricot ปัจจุบันมีอยู่กว่า 300 ชนิด เป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน เป็นดอกไม้ที่ชอบขึ้นในที่สูง ชอบอากาศหนาว โดยเฉพาะบริเวณมณฑลยูนนาน ดังนั้น เมื่อหิมะโปรยปราย อากาศหนาวเหน็บ ดอกไม้ชนิดอื่นร่วงโรยไปเพราะความหนาวเย็น จะมีเพียงดอกเหมยเท่านั้นที่ออกดอกสีสดใส ตัดกับสีขาวบริสุทธิ์ของหิมะ ด้วยเหตุนี้ชาวจีนจึงถือให้ดอกเหมยเป็นดอกไม้แทนชาวจีน เพราะว่าดอกเหมยไม่กลัวและอดทนต่อความเหน็บหนาว เช่นเดียวกับชาวจีนที่อดทน ขยันขันแข็ง และมีใจสู้กวีจีนเปรียบความงามของดอกเหมยว่า มีกลีบดอกขาวประดุจหิมะและมีก้านเขียวเหมือนสีหยก ดอกเหมยได้รับสมญานามว่า เป็นยอดแห่งความหอมของมวลดอกไม้นานาชนิด ในฤดูหนาวมวลดอกไม้ชนิดอื่นจะร่วงโรยและเหี่ยวเฉา มีแต่เพียงดอกเหมยเท่านั้นที่ยังคงความงามและความสดชื่นอยู่จนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ดังนั้นดอกเหมยจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการมาของฤดูใบไม้ผลิ เมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึงต้นไม้ดอกไม้เริ่มผลิใบออกดอกนำความสุขสดชื่นกลับมาอีกครั้ง ดอกเหมยจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งตรุษจีนและสัญลักษณ์แห่งความสุขด้วย ในภาพสิริมงคลใช้ในการอวยพรคู่สมรส หากเป็นดอกเหมยคู่กับต้นไผ่ ดอกเหมยจะหมายถึงหญิง(ความงาม)ไม้ไผ่หมายถึงชาย(ความแข็งแกร่งมั่นคง)

สำหรับดินแดนประเทศจีนอันแสนยิ่งใหญ่ ย่อมจะมีดอกไม้นับพันนับหมื่นชนิด หลายร้อยหลายพันรูปแบบและสีสัน ซึ่งแต่ละฤดูก็มีดอกไม้แตกต่างกันไป ชาวจีนจึงได้จัดดอกไม้ที่เป็นสุดยอดของแต่ละฤดูไว้อย่างน่าสนใจ

 

แหล่งที่มา