วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกไม้สวยๆ


      




                                                
 

              ทานตะวัน

สวัสดีครับวันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องของดอกทานตะวันนะครับดอกทานตะวันนั่นเป็นดอกไม้ที่สวยงามมากอีกหนึ่งชนิดนะครับทานตะวัน เป็นพืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อทานตะวันถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในจีนัส Helianthus ด้วยเช่นกันทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล

ตำนานดอกทานตะวัน

ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้

การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย

ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก

ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด

เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่าคนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง

การใช้ประโยชน์

ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหารทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg


 
                                                  
 
                  ดอกกระดังงา-ถิ่นกำเนิด

            กระดังงามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเซียเขตร้อนในแถบของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนีเซีย    ลักษณะต้นเป็นไม้เลื้อยทรงพุ่มขนาดกลาง เป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดปี ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตอนเช้าและเย็น โดยเริ่มออกดอกเมื่อ ปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 – 8 เมตร จึงจะออกดอก[1]


                ประโยชน์
เปลือกใช้ทำเชือกดอก นำไปกลั่นน้ำหอม ใช้นำไปเป็นส่วนปนะกอบของยาหอม มีฤทธิ์แก้วิงเวียน โดยจัดอยู่ในส่วนประกอบของ เกสรทั้งเจ็ดตำรายาไทย ใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ผลแก่ใช้ผลสีเหลืองอมเขียวเกือบดำ นำมาบดใช้เป็นยาคนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม หรือ นำดอกนำมาลนไฟใช้อบขนมให้มีกลิ่นหอมกระดังงาที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของเปลือกใช้ทำเชือก


              การขยายพันธุ์
กระดังงาเป็นไม้เลื้อยที่เปลือกจะหนาขึ้นตามอายุ โดยสามารถตอนกิ่งได้แบบเดียวกับไม้ยืนต้น แต่มีโอกาศที่จะติดเชื้อโรค รา ทำให้กิ่งที่ชำได้มีความเปราะ กิ่งหักง่าย ส่วนใหญ่จึงนิยมจะขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด [


               ความเชื่อของไทย
โดยมีความเชื่อว่า กระดัง คือการทำให้เกิดเสียงดังไปไกล โดยนำความเชื่อมาจาก บันทึกโบราณจาก นกการะเวกในสมัยพุทธกาล มีเสียงดังไพเราะก้องไกลทั่วสวรรค์

 

พุดน้ำบุษย์



 

             พุดน้ำบุษย์ ( Gardenia carinata Wallich.) เป็นดอกพุดที่นิยมปลูกพุดน้ำบุษย์เป็นไม้กระถางเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงามที่มีดอกหอม ดอกบานนาน 7 วันเมื่อแรกแย้มบานมัก เป็นสีออกขาวนวลส่งกลิ่นหอมมาก หอมไกล 2 – 3 เมตร เมื่อบานเข้าวันที่สองสีจะเริ่มออกเหลืองอ่อน ต่อมา ค่อยๆ เหลืองเข้มจนกระทั่งเข้มจัด ออกดอกตลอดทั้งปี กลิ่นหอมตลอดวัน

ลักษณะทั่วไป พุดน้ำบุษย์ เป็นไม้พุ่มต้นเล็กหรือพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามข้อของลำต้น ลักษณะใบสวยงามเพราะใบมัน หน้าใบสีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีเทา เป็นลายเห็นเด่นชัดสวยงาม เรียงใบเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 5 เชนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร ลำต้นแก่สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวดอกเดี่ยวบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเหลือง ความยาวของกลีบของกลีบดอก 2 เซนติเมตร มี 7 กลีบ คลายรูปช้อน ชูดอกอยู่บนก้าน ดอกบานนาน 7 วันเมื่อแรกแย้มบานมักเป็นสีออกขาวนวลส่งกลิ่นหอมมาก หอมไกล 2 – 3 เมตร เมื่อบานเข้าวันที่สองสีจะเริ่มออกเหลืองอ่อน ต่อมาค่อยๆ เหลืองเข้มจนกระทั้งเข้มจัด

           ลักษณะเฉพาะ

·         ลักษณะ: เป็นไม้พุ่มต้นเล็กหรือพุ่มเตี้ยสูงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามข้อของลำต้น ลำต้นแก่สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว

·         ใบ: ลักษณะใบสวย งามเพราะใบมัน หน้าใบสีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบสีเทา เป็นลายเห็นเด่นชัดสวยงาม เรียงใบ เป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 5 เชนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร

·         ดอก: ดอกเดี่ยวบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดสีเหลือง ความยาวของกลีบ ของกลีบดอก 2 เซนติเมตร มี 7-8 กลีบ คลายรูปช้อน ชูดอกอยู่บนก้าน

·         การดูแล: เติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำได้ดี แสงแดดจัด ชอบความชื้นแต่ถ้าไม่สามารถหาแดดเต็มวัน ให้ได้ แดดครึ่งวัน แดดช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ พุดน้ำบุษย์ปลูกได้ 2รูปแบบ คือ ปลูกลงดินกลางแจ้งยกแปลงสูง หรือปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ตั้งไว้ ในที่มีแสงแดดส่องถึง หลังปลูกบำรุงดินด้วยปุ๋ยมูลสัตว์ประเภทขี้วัวขี้ควายแห้งโรยกลบฝังดินรอบโคน ต้นหรือรอบขอบกระถางปลูก 15 วันครั้ง รดน้ำให้พอชุ่มทั้งเช้าและเย็น

 
                                                           ยี่หุบ

 

 

               ยี่หุบ
ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมนั้นทำให้เราสดชื่นขึ้น ยี่หุบเป็นพันธุ์ไม้ของไทยแท้ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ แม็กโนเลีย ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางในโลกมากนัก น่ะนะคะ พืชในวงศ์นี้อาจมีไม่เกิน 100 พันธุ์ ซึ่งรวมถึง จำปี จำปา มณฑา และมณฑาดอยด้วย

             ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ยี่หุบเป็นพุ่มไม้เตี้ย สูงประมาณ 2-5 ฟุต แตกกิ่งและใบน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวสดเนื้อใบแข็งกระด้าง ใบรูปรีปลายแหลมและโคนโบแหลม ยาวประมาณ 5 นิ้ว ดอกยี่หุบนั้นจะออกเป็นช่อห้อยลงตามปลายกิ่ง ช่อละ 5-8 ดอก(อาจจะมีออกดอกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งได้ด้วย) ดอกสีเหลืองอ่อนนวล ก้านดอกยาว 1-2 ซม. กลีบดอกงองุ้มและแข็งหนาทับซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกหนาและอวบน้ำ กาบรองดอกเป็นสีเขียวนวลเวลาบานเต็มที่คล้ายกลีบดอกขั้นนอก ดอกยาวประมาณ 3 ซม. มีกลิ่นหอมจัดเวลาเย็น เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. ดอกทยอยออกตลอดปี

             การปลูกและดูแลรักษา
ยี่หุบไม่ชอบแสงแดดมาก ชอบดินร่วนซุยและชื้น สามารถทนอยู่ได้ในสภาพดินแฉะ การปลูกในพื้นที่สูง เช่น ภูเขาหรือบนดอย พบว่ามีดอกดกใหญ่และมีกลีบดอกหนากว่า
การปลูกยี่หุบในกระถาง ก็สามารถออกดอกได้ดีค่ะ แต่ไม่ควรตั้งกระถาง หรือปลูกลงดินไว้กลางแจ้งตรงบริเวณที่โดนแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวันนะคะ ไม่งั้นใบสวยๆ ของยี่หุบจะไหม้ ใบเหลือง โตช้า และไม่ค่อยออกดอก เพราะยี่หุบ จะชอบอากาศเย็นๆ และต้องการความชื้นค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงควรปลูกในพื้นที่ร่มเย็น ใต้ร่มไม้ใหญ่ หรือในที่ร่มรำไร จะออกดอกได้ดีกว่าค่ะ



                                             

                     เบญจมาศ

เบญจมาศ เป็นไม้ตัดดอก (ไม้พันธุ์ล้มลุก) อีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้กัน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกุหลาบ เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก อีกชื่อหนึ่งที่เป็นที่รู้จักคือ เก๊กฮวย (Chrysanthemum) นิยมใช้ในความหมายของดอกไม้ที่นำไปทำเป็นเครื่องดื่ม

เบญจมาศ เป็นไม้ขนาดเล็กสูงประมาณ 1 – 3 ฟุต ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด ใบเรียวรี ขอบใบหยักใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อนๆทั่วทั้งใบ ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนๆกันมีหลากหลายสี สีแดง สีบานเย็น สีขาว สีม่วง น้ำเงิน สีเหลือง เบญจมาศเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด ต้องการน้ำปานกลาง และความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อนำมาปลูกภายในอาคารจึงควรตั้งไว้ในที่ๆ แสงแดดส่องถึง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
นอกจากดอกที่มีสีสันสดใส ทำให้บรรยากาศภายในสดชื่นสว่างไสว ชึ่งเป็นลักษณะเด่นของเบญจมาศแล้วเบญจมาศยังเป็นไม้ประดับที่มีความน่าสนใจมาก อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย จึงไม่ควรมองข้ามที่จะหาเบญจมาศมาปลูกในสำนักงานหรือบ้านเรือน

เบญจมาศ เป็นไม้ตัดดอกอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้กัน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกุหลาบ เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ดอกเบญจมาศมีอยู่หลายสายพันธุ์ ชนิดเลื่องชื่อคือ เบญจมาศสวน กับเบญจมาศหนู ซึ่งเรียกรวมกันว่า ดอกเก๊กฮวยนิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลทำน้ำเก๊กฮวย

 
                                                           ดอกเหมย

                    
 
                                            
 
                   ดอกเหมย

ดอกเหมยมีชื่อลาตินว่า Prunus mume หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Mumeplant Japanese Apricot ปัจจุบันมีอยู่กว่า 300 ชนิด เป็นดอกไม้ที่มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน เป็นดอกไม้ที่ชอบขึ้นในที่สูง ชอบอากาศหนาว โดยเฉพาะบริเวณมณฑลยูนนาน ดังนั้น เมื่อหิมะโปรยปราย อากาศหนาวเหน็บ ดอกไม้ชนิดอื่นร่วงโรยไปเพราะความหนาวเย็น จะมีเพียงดอกเหมยเท่านั้นที่ออกดอกสีสดใส ตัดกับสีขาวบริสุทธิ์ของหิมะ ด้วยเหตุนี้ชาวจีนจึงถือให้ดอกเหมยเป็นดอกไม้แทนชาวจีน เพราะว่าดอกเหมยไม่กลัวและอดทนต่อความเหน็บหนาว เช่นเดียวกับชาวจีนที่อดทน ขยันขันแข็ง และมีใจสู้กวีจีนเปรียบความงามของดอกเหมยว่า มีกลีบดอกขาวประดุจหิมะและมีก้านเขียวเหมือนสีหยก ดอกเหมยได้รับสมญานามว่า เป็นยอดแห่งความหอมของมวลดอกไม้นานาชนิด ในฤดูหนาวมวลดอกไม้ชนิดอื่นจะร่วงโรยและเหี่ยวเฉา มีแต่เพียงดอกเหมยเท่านั้นที่ยังคงความงามและความสดชื่นอยู่จนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ดังนั้นดอกเหมยจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการมาของฤดูใบไม้ผลิ เมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึงต้นไม้ดอกไม้เริ่มผลิใบออกดอกนำความสุขสดชื่นกลับมาอีกครั้ง ดอกเหมยจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งตรุษจีนและสัญลักษณ์แห่งความสุขด้วย ในภาพสิริมงคลใช้ในการอวยพรคู่สมรส หากเป็นดอกเหมยคู่กับต้นไผ่ ดอกเหมยจะหมายถึงหญิง(ความงาม)ไม้ไผ่หมายถึงชาย(ความแข็งแกร่งมั่นคง)

สำหรับดินแดนประเทศจีนอันแสนยิ่งใหญ่ ย่อมจะมีดอกไม้นับพันนับหมื่นชนิด หลายร้อยหลายพันรูปแบบและสีสัน ซึ่งแต่ละฤดูก็มีดอกไม้แตกต่างกันไป ชาวจีนจึงได้จัดดอกไม้ที่เป็นสุดยอดของแต่ละฤดูไว้อย่างน่าสนใจ

 

แหล่งที่มา


8 ความคิดเห็น: